วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปแบบฝึกหัดบทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

              การติดต่อของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานความมั่นคงและพัฒนาการขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจการจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งานการตัดสินใจเป็นบทบาทของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ การมีสารสนเทศที่ดีและเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จึงกล่าวถึงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน
การตัดสินใจของผู้บริหารระดับของการจัดการสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
1. การจัดการระดับสูง (Upper-level management)
เป็น สารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างและเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ จากภายในและภายนอกองค์การการจัดการระดับนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท และกรรมการผู้จัดการ
2. การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)
เป็น การวางแผนยุทธวิธีและประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารงาน ระดับต้นหรือหัวหน้างาน ระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการฝ่าย
3. การจัดการระดับต้น (Lover-level Management)
มี หน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานประจำวันซึ่งขั้นตอนการทำงานมีรูปแบบที่แน่ นอนและทำงานใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนของผู้ บริหารระดับกลางระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับต้น เช่น หัวหน้างาน, หัวหน้าแผนก
การตัดสินใจ(Decision Making) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ
1) การใช้ความคิดประกอบเหตุผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบแยกแยะและกำหนดระยะละเอียดของปัญหาหรือโอกาส
2) การออกแบบเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้
3) การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับปัญหา และสถานการณ์มากที่สุด
4) การนำไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจแล้ว นำไปปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้อง ประการใดและจะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
5) การตรวจสอบประสิทธิภาพในการตัดสินใจ เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรหากมีข้อผิดพลาด สามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อหาเลือกเลือกใหม่อีกครั้ง
ระดับของการตัดสินใจในองค์กรได้ 3 ระดับคือ
1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ทีให้ความสนใจในอนาคต เช่นการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว
2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดไว้
3. การตัดสินใจเชิงปฏิบัติ   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างาน เช่นการตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง
ประเภทของการตัดสินใจจัดเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision)   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง คือมีขั้นตอนหรือกระบวนในการแก้ปัญหาที่แน่ชัดและเป็นโครงสร้างการตัดสินใน เชิงน่าจะเป็น เช่น การสั่งซื้อสินค้าคงคลังซึ่งสามารถทราบการคำนวณจุดสั่งซื้อและทำการสั่งซื้อ เมื่อจำนวนสินค้าต่ำกว่าระดับที่กำหนด
2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง คือสามารถระบุกระบวนการหรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วนแต่ไม่มากพอ ที่จะนำไปตัดสินใจได้อย่างแน่นอนอีกส่วนหนึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์และ วิจารณญาณของผู้ตัดสินใจหรืออาจต้องอาศัยโมเดลต่างๆ ประกอบเพื่อช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การซื้อขายหุ้นการประเมินผลด้านเครดิต
3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision)   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจได้ล่วงหน้าเช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
ส่วนประกอบของระบบ DSS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน
1. ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูลสารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล ระบบDSSอาจเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูลเพื่อดึงหรือกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจ
2. ส่วนจัดการโมเดล (Model Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง, ระบบจัดการแบบจำลอง, ภาษาแบบจำลอง, สารบัญแบบจำลอง, และส่วนดำเนินการแบบจำลอง
3. ส่วนจัดการโต้ตอบ (Dialogue Management Subsystem) เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบเพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานส่วนจัดการความรู้(Knowledge-based Management Subsystem) DSSขั้นสูงจึงจะมีส่วนที่เรียกว่าส่วนจัดการองค์ความรู้
ประเภทของระบบDSSจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก (Model- driven DSS) เป็นระบบจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่างๆ
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก (Data-driven DSS) เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่างๆ เช่น โมเดลบัญชี
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม  (Group Decision Support System: GDSS) เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคลส่วนประกอบของ GDSS
1) อุปกรณ์ (Hardware)
2) ชุดคำสั่ง (Software)
3) ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model Base)
4) บุคลากร (People)

แบบฝึกหัดบทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ    หน้าที่หลักของการจัดการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจ และการควบคุมส่วนการตัดสินใจนั้นคือผู้บริหารจะต้องตัดสินใจด้วยความถูกต้องแม่นยำ และเหมาะสม ซึ่งการตัดสินใจของผู้จัดการอาจเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับ ตัดสินใจเพื่อการแข่งขัน ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และไม่ว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะเป็นเช่นไร ผู้จัดการจะต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเองเสมอ
2.  เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ     แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย วางแผนระยะยาวขององค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) เป็น การตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เช่น การจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้บรรลุวัตถุประสงค์ จัดสรรงบประมาณ กำหนดการผลิต ยุทธวิธีทางการตลาด วางแผนงบประมาณ เป็นต้น
3.การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operation Decision Making) เป็น การตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการเช่น การควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในกระบวนการในการสั่งซื้อ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า และตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติ
3. เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ    กระบวนการตัดสินใจออกเป็น 5 ขั้นตอน
1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
2. การออกแบบเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้
3. การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์
4. การนำไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจแล้ว นำไปปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้อง ประการใดและจะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข
5. การตรวจสอบประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
4. การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ     การตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่
1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง (Structured Decision) เป็น การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็น การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้ จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructured Decision) เป็น การตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่งโครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่า จะมีขั้นตอนอย่างไร ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ปัญหาบางส่วนไม่สามารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้
5. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ    กำหนดรูปแบบในการแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน และแน่นอน เพราะส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ (Routine) อาจใช้แบบจำลอง (Model) ทางคณิตศาสตร์คำนวณหาผลลัพธ์ ปัญหาประเภทนี้มักจะมีข้อมูลและข่าวสารประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน
6.  จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ      DSS   เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน
7.  DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายโดยละเอียด
ตอบ    สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. อุปกรณ์    เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ
-อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกจะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือมินิคอมพิวเตอร์ในสำนักงานเป็นหลัก
-อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่นระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ได้ถูกนำเข้ามาประยุกต์ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ ของDSS
-อุปกรณ์แสดงผล DSSที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ ที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์ดีดอย่างดี
2. ระบบการทำงาน    มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
-ฐานข้อมูล จะทำหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมุลขององค์การ
-ฐานแบบจำลอง มีหน้ารวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ใช้
-ระบบชุดคำสั่งของ DSS เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล
3. ข้อมูล     เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสม กับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม่สามารถช่วย สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสม สมควรที่จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
3.1. มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน
3.2. มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
3.3. สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
3.4. มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
4. บุคลากร   เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่ การกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
-ผู้ใช้ ผู้ใช้งานโดยตรง ได้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ ตลอดจนนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ
-ผู้สนับสนุน ได้แก่ผู้ ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
8.  การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ     เนื่องจาก DSS ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม DSS ต้องอาศัยแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งสลับซับซ้อนกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสามารถที่จะช่วยเพิ่มความสามารถ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่ม โดยที่กลุ่มจะประหยัดเวลาในการตัดสินใจ ตลอดจนช่วยลดจำนวนครั้งในการะประชุม ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกของกลุ่มสามารถใช้เวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ ต่อองค์การได้
9. ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ   นำมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของปัญหาแต่ละคนในการตัดสินใจของกลุ่มหรือองค์กร เนื่องมาจากปัจจุบันการตัดสินใจปัญหาส่วนใหญ่ภายในแต่ละองค์กร มักใช้ความเห็นของคณะกรรมการ หรือคณะทำงานเป็นหลัก
10.  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม(GDSS)
ตอบ    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม GDSS สำหรับ กลุ่มประกอบด้วยอุปกรณ์ ตั้งแต่ ระบบคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เพื่อให้การประสานงานภายในกลุ่มมีประสิทธิภาพ โดยที่อุปกรณ์แต่ล่ะประเภทจะถูกออกแบบและดับแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ GDSS ต้องมีส่วนประกอบสำคัญ คือ ชุดคำสั่งพิเศษที่ช่วยกำหนดขอบเขต ประเมินทางเลือกของปัญหา และประสานงานให้สมาชิกสามารถตัดสินใจในปัญหาร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
ประโยชน์
1.ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2.มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3.สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5.มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6.ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7.มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

สรุปแบบฝึกหัดบทที่ 6 ระบบสารสนเทศและระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้    คอมพิวเตอร์ สถานี ช่องทางติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อการสื่อสาร และชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อการสื่อสาร ซึ่งระบบเครือข่ายแยกตามระยะทางและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ สามารถแบ่งออกเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ หรือ LAN ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง หรือ MAN ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่หรือ WAN และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศรูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักมี 4 แบบคือ โทโปโลยีแบบบัส โทโปโลยีแบบวงแหวน โทโปโลยีแบบดาว และโทโปโลยีแบบผสม ซึ่งเครือข่ายแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร   การสื่อสารข้อมูลใน ยุคปัจจุบันได้ตะหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงานการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)     เป็น การส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร
วอยซ์เมล (Voice Mail)     เป็น การส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือ ข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)    เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems: GPSs)   เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์  (groupware)   เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของ กลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund  Transfer : EFT) ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดย การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI) เป็น ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)   เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไป ประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)   เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดย ที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
2. สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)   สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณอนาล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิตอล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิตอล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึงมีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที  
โมเด็ม  ( Modulator DEM  odulator หรือ Modem) โมเด็ม (Modem) เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
- สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) สายสัญญาณทำจากใยแก้ว หรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
- แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็น การสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
- สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่นวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
- ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็น การสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
- การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็น การสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
1. ราคา
2. ความเร็ว
3. ระยะทาง
4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5. ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
1. บลูทูธ (Bluetooth)
2. ไวไฟ (Wi-Fi)
3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)
เราจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมช่วยเพิ่มศักยภาพแก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เคยปฏิบัติงานเก็บรวบรวม ประมวลผล และจัดการสารสนเทศ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่คนละส่วนงานหรือคนละพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้