วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปแบบฝึกหัดบทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ        เป็นงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การ และระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบประสบความสำเร็จคือผู้ใช้ระบบจะต้องให้ข้อมูลแก่ทีมงานพัฒนาระบบในด้านต่างๆ คือ สารสนเทศที่หน่วยงานต้องการผู้ใช้ต้องการให้ระบบมีความสามารถอย่างไร และปัญหาหรือความไม่พอใจในระบบปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ระบบปัจจุบันไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง ระบบปัจจุบันมีขั้นตอนในการทำงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน และระบบปัจจุบันมีการทำงานที่ผิดพลาดบ่อยครั้ง โดยที่การพัฒนาระบบให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
2. การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกวิธี
3. มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบ
4. เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
5. มีการวางแผนและการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
6. มีการตรวจสอบหลังการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
7. มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
 8. การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต    โดยเฉพาะการพัฒนาระบบ ในการพัฒนาระบบนักวิเคราะห์ระบบหรือที่เรียกว่า SA นั้น มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ ซึ่งนอกจากบทบาทสำคัญของนักวิเคราะห์ระบบคือ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนการเปลี่ยนแปลง ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น หน้าหลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ  การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และการออกแบบระบบ อีกทั้งในระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศนักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการอีกหลายหน้าที่ เช่น ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่างๆ รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ และนักวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น    โดยปกติทีมงานพัฒนาระบบประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้ คณะกรรมการ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล และผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป โดยที่การพัฒนาระบบจะสามารถทำได้อยู่ 4 วิธีคือ วิธีเฉพาะเจาะจง วิธีสร้างฐานข้อมูลวิธีจากล่างขึ้นบน และวิธีจากบนลงล่าง    การพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกระบวนการที่ใหญ่แบ่งออกได้เป็นหลายขั้นตอนการที่จะพัฒนาระบบให้ได้มีประสิทธิภาพ ทีมพัฒนาระบบจะต้องเข้าใจถึงขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาเป็นอย่างดี เพื่อให้รู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานแต่ละคนซึ่งกระบวนการพัฒนาระบบนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอนคือ
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการ
3. การออกแบบระบบ
4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา    ซึ่งการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ดี โดนวงจรการพัฒนาระบบจะเป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการ ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมใช้ดังนี้ รูปแบบน้ำตก รูปแบบวิวัฒนาการ รูปแบบค่อนเป็นค่อนไป และรูปแบบเกลียว นอกจากนี้ในขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนระบบ ทีมงานพัฒนาระบบจึงควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบ สามารถกระทำได้ 4 วิธีดังนี้  การปรับเปลี่ยนโดยตรง  การปรับเปลี่ยนแบบขนาน การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ  และการปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น